ISO 639-2 เป็นส่วนที่สองของมาตรฐาน ISO 639 ที่จะใช้รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนภาษาต่างๆ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ประกอบด้วย กลุ่มของตัวอักษร 3 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แทนชื่อของภาษาที่ใช้ใน งานบรรณาณุกรม ( bibliographic applications ) และกลุ่มที่สองใช้ใน งานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ ( terminology applications ) รหัสที่ใช้แทนภาษาของทั้งสองกลุ่มเหมือนกันยกเว้นเพียง 23 ภาษา จากภาษาทั้งหมดมากกว่า 450 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขในการสร้างรหัสนั้น การใช้รหัสแทนภาษามาตรฐานนี้เริ่มต้นมาจากการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด การให้บริการข้อมูลต่างๆ ตลอดจนงานพิมพ์ ที่ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล รหัสเหล่านี้ได้มีการใช้แพร่หลายในกลุ่มงานห้องสมุด และต่อมาได้มีการปรับนำมาใช้โดยกลุ่มของนักภาษาศาสตร์ และในกลุ่มงานที่ต้องการคำนิยามเฉพาะ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากความต้องการใช้ภาษานั้นๆที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่รวมถึงโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
รหัสที่แสดงแทนภาษาต่างๆนี้ ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก 3 ตัว โดยที่ตัวอักษรเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษรย่อของ ภาษานั้นๆแต่สามารถใช้รหัสนั้นในการจำแนกภาษาได้
มาตรฐานกลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานบรรณาณุกรม (ISO 639-2/B) หรือ รหัสกลุ่ม B และ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ (ISO 639-2/T) หรือ รหัสกลุ่ม T
โดยจัดรหัสทั้งสองแบบนี้มีเพียง 23 ภาษาเท่านั้นที่มีรหัสแตกต่างกัน โดยที่ในอนาคตการกำหนดรหัสจะขั้นอยู่กับชื่อแทนของภาษานั้น ยกเว้นแต่กรณีที่ประเทศนั้นๆหรือกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษานั้นๆร้องขอ แต่เพื่อให้เกิดความเสถียรภาพและความต่อเนื่อง การเปลี่ยรหัสเหล่านี้จะทำได้เมื่อมีความจำเป็นจริงๆเท่านั้น และรหัสเดิมจะยังคงต้องใช้อยู่ อย่างน้อย 5 ปีก่อนที่จะมีการใช้รหัสใหม่แทนที่หลังจากที่ได้มีการร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามรหัสในกลุ่มบรรณาณุกรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าชื่อของภาษาหรือสัญลักษณ์ย่อของภาษาเปลี่ยนด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในกรณีที่ภาษาเดียวกันแต่มีการเขียนต่างกันจะใช้รหัสแทนภาษาตัวเดียวกันแต่อาจมีมาตรฐาน อื่นเพิ่มขึ้นเพื่อแยกให้เห็นระบบการเขียนที่แตกต่างกัน สำหรับกรณีภาษาท้องถิ่นก็จะใช้รหัสเดียวกับภาษานั้นๆ ยกเว้นบ้างในกรณีที่ภาษาท้องถิ่นนั้นมีลักษณะที่ไม่สามารถบอกรากที่มาของภาษานั้นๆได้ชัดเจนก็สามารถมีรหัสภาษาของตัวเองได้ (ซึ่งมีปรากฏอยู่น้อยกรณี)
ตัวอย่างของรหัสในกลุ่ม ISO 639-2 เทียบกับ ISO 639-1 โดยที่ ถ้ารหัสในกลุ่ม ISO 639-2 ใช้รหัสแทนไม่เหมือนกัน รหัสชุดแรกแสดงถึงรหัสในกลุ่มบรรณาณุกรม และชุดที่สองแสดงถึงรหัสในกลุ่มบัญญัติศัพท์